มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง สัญญาณเตือนของ “โรคเริม”

beauty

โรคเริม ภัยร้ายที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดกับตัวเอง โดยโรคเริมมีส่วนประกอบมาจากเชื้อ HSV1 และ HSV2 กลายเป็น Herpe Simplex Virus สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะทำให้เกิดตุ่มน้ำบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด  หากเกิดในเพศหญิงจะมีอาการตกขาวผิดปกติร่วมด้วย

มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง มีสาเหตุมาจากโรคเริมอย่างเดียวหรือไม่ ?

อาการตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ขนคุด หรืออาการต่อมไขมันอักเสบจะทำให้บริเวณผิวหนังเกิดตุ่มไขมันขึ้นมาเป็นจุด ๆ มีอาการระคายเคืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถือว่าเป็นอาการที่ไม่อันตรายและสามารถหายไปได้เอง
  • สิว มักจะเกิดขึ้นหากไม่มีการรักษาสุขอนามัยบริเวณจุดซ่อนเร้น โดยจะเกิดจากอาการอักเสบและความอับชื้น มีลักษณะเหมือนกับสิวหัวหนอง ไม่มีอาการเจ็บปวดหากไม่ได้ไปสัมผัส แนะนำว่าไม่ควรบีบเพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจายไปยังผิวหนังส่วนอื่นได้
  • ระคายเคือง อาจจะเกิดได้จากอารการแพ้สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ผ้าอนามัย สบู่ หรือแชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดเม็ดผดและอาการคันบริเวณอวัยวะเพศได้
  • โรคหิด เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้ง่าย โดยจะมีอาการเป็นตุ่มน้ำ มีหนอง ทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง
  • โรคเริม เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจะมีอาการตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นรวมตัวกันบริเวณอวัยวะเพศ มีอาการคัน หากผู้ป่วยเผลอเกาจนตุ่มน้ำในบริเวณนั้นแตกจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณอวัยวะเพศได้

 

อาการของผู้ป่วย “โรคเริม” สังเกตได้จากอะไรบ้าง ?

โรคเริมเป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้อันตรายถึงชีวิต แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อจะไปหลบบริเวณปมเส้นประสาท หากร่างกายภูมิตกหรืออ่อนแอเชื้อเริมจะออกอาการได้ตลอดเวลา

  • ระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปาก ตา จมูก เป็นต้น
  • หลังน้ำตุ่มน้ำใสแตกจะเกิดแผลทั่วอวัยวะเพศ ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบ
  • มีตกขาวมากผิดปกติ

 

โรคเริม อันตรายหรือไม่ ?

โรคเริมถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่อันตราย สามารถรักษาด้วยตนเองได้ แต่เชื้อจะไม่มีทางหายไปจากร่างกาย สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย ความอันตรายของโรคเริมจะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อลุกลามไปบริเวณตาดำ จำเป็นต้องพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อกระจกตา เสี่ยงตาบอดแบบไม่รู้ตัว

 

รักษา “โรคเริม” ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ

โรคเริมสามารถรักษาได้ตามอาการ ดังนี้

  • รักษาด้วยยา สามารถรักษาด้วยยาตามอาการทั่วไป เช่นยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด หรือยาแก้คัน นอกจากนี้ยังมียาที่ช่วยลดการกระจายของเชื้อ เช่น Acyclovir และ Valacyclovir จะช่วยลดอาการรุนแรงของอาการ ลดเชื้อไวรัสไม่ให้กระจายไปยังผิวหนังบริเวณอื่น โดยจะเป็นยาภายนอกที่ใช้ทา
  • รักษาสุขอนามัย เมื่ออาการของโรคกำเริบ ผิวหนังในบริเวณนั้นจะเกิดอาการระคายเคือง บอบบางและอ่อนแอ ควรรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ลดความอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนต่อผิว รวมถึงงดใช้วิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หรือเสื้อผ้า เป็นต้น

 

โรคเริมสามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้หรือไม่ ?

สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อจะอยู่ในสารคัดหลั่งและน้ำลายของผู้ป่วย หากต้องมีเพศสัมพันธ์ควรป้องกันด้วยการใส่ถุงยางอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำลายของผู้ป่วย นอกจากช่วยลดความเสี่ยงในการติดต่อโรคเริมแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย เช่น โรค HIV โรคหูด หรือ โรคซิฟิลิส เป็นต้น

 

ป้องกันตัวเองจาก “โรคเริม” ถ้าไม่อยากเป็นตุ่มคันไปทั้งชีวิต

  • ป้องกันเสมอเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำลายจากผู้ป่วย
  • งดใช้บริการทางเพศหรือมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
  • งดใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • รักษาภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกาย หรือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

 

โรคเริมถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยจะเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ทารกไปถึงวัยผู้ใหญ่ เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่หากพบว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น มีแผลพุพองขึ้นจำนวนมาก เชื้อเริมลามไปจนถึงตาดำ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพราะถือว่าเป็นขีดอันตรายสำหรับโรคเริม ที่สำคัญควรป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเริมคือสิ่งที่ดีที่สุด

Next Post

รอบรู้การเกิดปัสสาวะขุ่น อาการผิดปกติที่อาจเกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ

หนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะที่ถือเป็นปัญหาที่ควรใส่ใจให้มากๆ ก็คือ ปัสสาวะขุ่น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ วันนี้เราจะชวนให้ทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษา และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัสสาวะขุ่นกันค่ะ จะมีความน่าสนใจอย่างไรกันบ้างนั้นไปติดตาม รัตตินันท์ คลินิก อ่านพร้อม ๆ กันเลย
ปัสสาวะขุ่น

Subscribe US Now