แผลรถล้ม บรรเทาอาการได้ด้วยตนเองใน 2 วิธี

beauty

แผลรถล้ม หนึ่งในอุบัติเหตุที่ไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นแน่นอน ทว่าต้องยอมรับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกช่วงวัย  หากอาการไม่หนักหนาสาหัส การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี จะช่วยทุเลาอาการได้มากทีเดียว แต่ในตำราเรียนแทบไม่ได้สอนมาเลย ดังนั้นที่นี่มาเรียนรู้สาระดี ๆ เพื่อดูแลตนเองและคนใกล้ชิด

หลักการปฐมพยาบาลแผลรถล้มเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลแผลรถล้ม ดูดไขมัน ลักษณะแผลที่ฟกช้ำ ไม่ถึงกับเลือดออก หลักการบรรเทาอาการฟกช้ำไม่ยาก ดังนี้

  • หลังจากรถล้มแล้ว ภายใน 24 ชั่วโมง ต้องทำการประคบเย็น ซึ่งการประคบต้องทำครั้งหนึ่งนาน 15-30 นาที และกดเบา ๆ ขณะประคบ อุปกรณ์ คือ ใช้ผ้าที่หนาห่อน้ำแข็งเท่านั้น
  • หลังครบ 24 ชั่วโมงแล้ว หลังจากนั้นต้องประคบร้อนต่ออีกประมาณ 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งนาน 15 นาที หากดูแลอาการตามขั้นตอนดังกล่าว อาการฟกช้ำจะหายไปทันที ไม่เกิน 2 สัปดาห์

การปฐมพยาบาลแผลรถล้ม ลักษณะเป็นแผลถลอก ซึ่งเป็นอาการยอดนิยมพบเห็นได้บ่อยมาก ในกลุ่มของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ โดยแนวทางในการบรรเทาอาการ ดังนี้

  • หากทำแผลเอง อันดับแรก คือ ต้องล้างมือให้สะอาด ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่สะสมในมือ ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
  • เริ่มต้นต้องนำน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ ล้างบริเวณปากแผลก่อน เพื่อจำกัดเศษดินต่าง ๆ ที่ปนมากับแผล ขั้นนี้ ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่นำมาล้างสะอาดที่สุด
  • นำสำลีที่สะอาดใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ เช็ดบริเวณรอบปากแผล ห้ามราดน้ำยาฆ่าเชื้อลงแผล หรือเช็ดที่แผลโดยตรง เพราะนอกจากจะมีอาการแสบแล้ว เสี่ยงต้อการติดเชื้อมากขึ้นด้วย
  • ต่อมานำสำลีที่สะอาดใส่น้ำยาทาแผลสด แปะที่แผลแล้วปิดด้วยผ้าก๊อซอีกชั้นหนึ่ง ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปที่แผลนั่นเอง
  • ถ้าเริ่มมีอาการปวดแผลเกิดขึ้น สามารถทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าแผลบวมมากขึ้น หรือ เลือดไหลตลอด ไม่หยุด ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

ทั้งนี้ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุต้องประเมินอาการตนเอง หากมีอาการรุนแรง ให้เข้ารับการรักษากับแพทย์โดยตรงจะดีที่สุด  เพราะการที่รถล้มนั้น ไม่เพียงเกิดแค่ฟกช้ำหรือแผลถลอก บางรายมีอาการกระดูกหักหรือกล้ามเนื้อฉีกขาด  และแนวทางในการรักษาโดยแพทย์ คือ

  • ล้างทำความสะอาดที่แผล และประเมินอาการ
  • ใช้การฉีดยาแก้ปวด สำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุรุนแรง และเจ็บแผลมาก
  • เย็บแผล หากแผลที่ได้รับเป็นการฉีดขาดที่รุนแรง และต้องตามผล นัดตัดไหมเป็นลำดับ
  • การผ่าตัดจะเหมาะสำหรับเคสรุนแรงที่สุด เช่น เลือดออกในสมอง กระดูกหักภายใน เป็นต้น
  • การรักษาในรูปแบบอื่น ๆ ตามวินิจฉัยของแพทย์

การดูแลรักษาตนเองหลังจากทำแผล  

เมื่อทำแผลเป็นที่เรียบร้อย ภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราก็จะเริ่มทำงานในการรักษาตนเอง ดังนั้นก็มักจะเกิดอาการปวดตามมาได้ ให้ทานยาลดการปวดบรรเทาอาการ จากนั้นรอเวลาเพื่อให้แผลสมานกัน พร้อมใช้วิธีการดูแลตัวเองร่วมด้วย  ดังนี้

  • แผลที่เป็นแผลเปิดควรปิดปากแผลเสมอ ป้องกันเชื้อ และไม่ควรโดนน้ำ เพราะจะทำให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม
  • หากต้องทำแผลเองที่บ้าน ต้องล้างมือให้สะอาดที่สุด และอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องเป็นของใหม่ ถ้าเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ซ้ำ ต้องทำความสะอาดทันทีหลังใช้งานเรียบร้อยแล้ว
  • ถ้าแผลเริ่มมีอาการดีขึ้นหรือแผลสมานกัน ก็จะเกิดเป็นสะเก็ดที่ปากแผลและส่งผลให้มีอาการคัน ทว่าไม่สมควรเกาหรือลอกสะเก็ดออกเด็ดขาด เพราะจะทำให้แผลหายช้ากว่าเดิม ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ยิ่งในผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดมา หรือยังอยู่ในช่วงที่ร่างกายต้องการพักฟื้นและต้องได้รับการบำรุงมากเป็นพิเศษ
  • งดเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายแบบหักโหมไปสักระยะ จนกว่าแผลจะหายดี หากต้องการออกกำลังหาย ในช่วงที่แผลยังเจ็บอยู่ ให้ออกกำลังกายเบา ๆ ไปก่อน เพื่อไม่ให้การขยับร่างกายกระทบจนแผลอาจฉีกขาดได้

ถึงแผลจากรถล้มมีแนวทางในการรักษา ทว่าการเจ็บป่วย นอกจากเป็นการเสียสุขภาพร่างกายแล้ว ยังมีผลกระทบต่อจิตใจอีกด้วย ดังนั้นควรใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท มีสติเสมอ จะช่วยลดอุบัติเหตุได้มากขึ้น

Next Post

มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง สัญญาณเตือนของ “โรคเริม”

โรคเริม ภัยร้ายที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดกับตัวเอง โดยโรคเริมมีส่วนประกอบมาจากเชื้อ HSV1 และ HSV2 กลายเป็น Herpe Simplex Virus สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะทำให้เกิดตุ่มน้ำบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด  หากเกิดในเพศหญิงจะมีอาการตกขาวผิดปกติร่วมด้วย
มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง สัญญาณเตือนของ “โรคเริม”

Subscribe US Now